Thursday, September 11, 2014

การทดลองที่ 4.1

การต่อวงจรไอซีเปรียบเทียบแรงดัน

วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้เข้าใจหลักการทำงานของไอซี LM393N 
รายการอุปกรณ์
  • แผงต่อวงจร (เบรดบอร์ด) 1 อัน
  • ไอซีเปรียบเทียบแรงดัน เบอร์ LM393N 1 ตัว
  • ตัวต้านทานปรับค่าได้แบบสามขา ขนาด 10kΩ หรือ 20kΩ 1 ตัว
  • ตัวต้านทาน 4.7kΩ หรือ 10kΩ (สำหรับ Pull-Up) 1 ตัว
  • ตัวต้านทาน 330Ω หรือ 470Ω 1 ตัว
  • ไดโอดเปล่งแสง (LED) ขนาด 5 มม. 1 ตัว
  • สายไฟสำหรับต่อวงจร 1 ชุด
  • มัลติมิเตอร์ 1 เครื่อง
  • แหล่งจ่ายแรงดันควบคุม 1 เครื่อง
  • เครื่องกำเนิดสัญญาณแบบดิจิทัล 1 เครื่อง
  • ออสซิลโลสโคปแบบดิจิทัล 1 เครื่อง
ขั้นตอนการทดลอง

1. ต่อวงจรโดยใช้ตัวต้านทานปรับค่าได้ ตามผังวงจรในรูปที่ 4.1.1 แล้วป้อนแรงดันไฟเลี้ยง VCC=+5V และ Gnd จากแหล่งจ่ายแรงดันควบคุม ไปยังวงจรบนเบรดบอร์ด
2. ใช้มัลติมิเตอร์วัดแรงดันระหว่างจุด Vx กับ Gnd และทดลองหมุนปรับค่าที่ตัวต้านทาน สังเกตและจดบันทึกค่าแรงดันต่ำสุดและแรงดันสูงสุดที่วัดได้
3. ต่อวงจรบนเบรดบอร์ด โดยใช้ไอซี LM393N ตามผังวงจรในรูปที่ 4.1.2
(เลือกใช้ตัวเปรียบเทียบแรงดันที่อยู่ภายในตัวใดตัวหนึ่งจากที่มีอยู่สองตัว)
4. สร้างสัญญาณแบบสามเหลี่ยม (Triangular Wave) ให้อยู่ในช่วงแรงดัน 0V ถึง 5V โดยใช้เครื่องกำเนิดสัญญาณ (Function Generator) โดยกำหนดให้ Vpp = 5V (Peak-to-Peak Voltage) และแรงดัน Offset = 2.5V และความถี่ f = 1kHz เพื่อใช้เป็นสัญญาณอินพุต Vin แล้วนำไปป้อนให้ขาV- ของตัวเปรียบเทียบแรงดันที่ได้เลือกใช้
5. ใช้ออสซิลโลสโคปวัดสัญญาณ โดยใช้ช่อง A สำหรับวัดสัญญาณที่มาจากเครื่องกำเนิดสัญญาณ (Vin) และช่อง B สำหรับวัดสัญญาณเอาต์พุต (Vout) ที่ขาของตัวเปรียบเทียบแรงดันที่ได้เลือกใช้    
(บันทึกภาพที่ได้จากออสซิลโลสโคป เพื่อใช้ประกอบการเขียนรายงานการทดลอง)
6. ทดลองหมุนปรับค่าที่ตัวต้านทานปรับค่าได้ วัดแรงดัน Vref และสังเกตการเปลี่ยนแปลงค่า Duty Cycle ของรูปคลื่นสัญญาณเอาต์พุต
7. สลับขาสัญญาณอินพุตที่ขา V+ และ V- (ตามผังวงจรในรูปที่ 4.1.3) แล้วทำขั้นตอนที่ 6 ถึง 7 ซ้ำ
8. เขียนรายงานการทดลอง ซึ่งประกอบด้วย คำอธิบายการทดลองตามขั้นตอน ผังวงจรที่ถูกต้องครบถ้วนตามหลักไฟฟ้า (ให้วาดด้วยโปรแกรม Cadsoft Eagle) รูปถ่ายของการต่อวงจรบนเบรดบอร์ด รูปคลื่นสัญญาณที่วัดได้จากออสซิลโลสโคปตามโจทย์การทดลอง และตอบคำถามท้ายการทดลอง



รูปที่ 4.1.1: ผังวงจรสำหรับต่อวงจรที่ใช้ตัวต้านทานปรับค่าได้



รูปที่ 4.1.2: ผังวงจรสำหรับต่อวงจรเปรียบเทียบแรงดัน (Vin ต่อที่ขา V-)



รูปที่ 4.1.3: ผังวงจรสำหรับต่อวงจรเปรียบเทียบแรงดัน (Vin ต่อที่ขา V+)


ผลการทดลอง 
   จากการทดลองต่อวงจรในรูป 4.1.1 พบว่าเมื่อปรับค่าความต้านทานจะวัดแรงดัน Vx ต่ำสุดได้ 0 V และสูงสุดได้ 5 V และเมื่อนำไอซี LM393N มาต่อตามวงจรที่ 4.1.2 และนำออสซิลโลสโคปมาวัดสัญญาณจากเครื่องกำเนิดสัญญาณ (Vin) และสัญญาณเอาต์พุต (Vout) ได้ดังนี้


   เมื่อทดลองปรับค่าความต้านทานจะพบว่าเมื่อปรับแรงดัน Vref มากขึ้นค่า Duty cycle ของสัญญาณเอาต์พุตจะเพิ่มขึ้น

รูปเมื่อปรับแรงดัน Vref เพิ่มขึ้น

ต่อมาเมื่อสลับเป็นจ่ายแรงดัน Vin เข้าขา + ของไอซีตามรูปที่ 4.1.3 จะใช้ออสซิลโลสโคปวัดได้ดังนี้


   เมื่อทดลองปรับค่าความต้านทานจะพบว่าเมื่อปรับแรงดัน Vref มากขึ้นค่า Duty cycle ของสัญญาณเอาต์พุตจะลดลง


 รูปเมื่อเพิ่มแรงดัน Vref เพิ่มขึ้นจนสุด


  การที่เอาต์พุตออกมาเป็นเช่นนี้ เพราะไอซีทำงานโดยการเปรียบเทียบแรงดันที่ขาอินพุต + และ - ของตัวไอซี โดยถ้าแรงดันที่ขา + มากกว่าขา - ตัวไอซีจะจ่ายเอาต์พุตเป็น Vcc (HIGH) และเป็น 0 (LOW) เมื่อเป็นแรงดันขา - มากกว่าขา + 

รูปประกอบการทดลอง 


รูปวงจรที่ต่อตามรูปที่ 4.1.1

รูปวงจรที่ต่อตามรูปที่ 4.1.2

รูปวงจรที่ต่อตามรูปที่ 4.1.3

รูปการต่อวงจรที่ 4.1.2 บนเบรดบอร์ด

รูปการต่อวงจรที่ 4.1.3 บนเบรดบอร์ด


รูปวงจรบนเบรดบอร์ด

รูประหว่างทำการวัดสัญญาณ

คำถามท้ายการทดลอง

1. ระดับของแรงดันอ้างอิง (Vref) ที่ได้จากตัวต้านทานปรับค่าได้ เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบแรงดันมีความสัมพันธ์อย่างไรกับระดับของแรงดันเอาต์พุต (Vout) ที่ได้จากตัวเปรียบเทียบแรงดัน และ ค่า Duty Cycle ของสัญญาณเอาต์พุตที่วัดได้ จงอธิบาย
  •   เนื่องจากไอซีทำงานด้วยการเปรียบเทียบแรงดันระหว่างขา + และขา - ของวงจรโดยเอาต์พุตที่ได้ จะมีค่าเท่ากับ Vcc เมื่อขา + มากกว่าขา - (หรือเท่ากับ 5 V  ในการทดลองครั้งนี้) และเป็น -Vcc (หรือเท่ากับ 0 ในการทดลองครั้งนี้)
       สมมุติว่าเมื่อเราจ่าย Vref เข้ากับขา + ของวงจร ในช่วงที่แรงดันขา - ลดลงมากกว่าขา + เอาต์พุตจะเป็น 5 V
       ดังนั้นเมื่อจ่ายสัญญาณสามเหลี่ยมซึ่เข้าไปที่ขา - และต่อ Vref เข้าที่ขา + ของไอซีเอาต์พุตจะมี Duty Cycle เพิ่มขึ้นเมื่อแรงดัน Vref เพิ่มขึ้น
       กลับกัน ถ้าเราจ่ายสัญญาณแบบสามเหลี่ยมเข้าที่ขา + และต่อ Vref เข้าที่ขา - ของไอซี จะทำให้ Duty Cycle  ลดลงเมื่อแรงดัน Vref เพิ่มขึ้น

2. ถ้าจะให้สัญญาณเอาต์พุต Vout มีค่า Duty Cycle ประมาณ 50% จะต้องหมุนปรับค่าที่ตัวต้านทานปรับค่าได้ ให้มีแรงดัน Vref ประมาณเท่าใด
  • ประมาณ 2.5 V

3. เมื่อหมุนปรับค่าที่ตัวต้านทานปรับค่าได้ จากซ้ายสุดไปขวาสุด จะได้ค่า Vref อยู่ในช่วง ~0 ถึง ~5  โวลต์ และได้ค่า Duty Cycle ของสัญญาณเอาต์พุตอยู่ในช่วง 0 ถึง 100 เปอร์เซ็นต์


No comments:

Post a Comment